วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

19  ธันวาคม 2555

งานที่ได้รับมอบหมาย

- อาจารย์ให้ตัดกล่องลังเป็นวงกลม คิดสื่อเกี่ยวกับการทำตามแบบหรือลวดลาย 3คนต่อหนึ่งรูป

ภาพผลงาน ชื่อวงกลมมหัศจรรย์




                                                    ให้เด็กๆ นำวงกลมมาวางลงในภาพ

                             เมื่อวางเสล็จแล้วก็จะได้เป็นดอกไม้แสนสวยแบบนี้ค่ะ


วันที่ 16 มกราคม 2556
บันทึกการเข้าเรียน
- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ
 เนื่องจากวันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ อาจารย์จึงให้ไปเข้าร่วมกิจกรรมที่คณะจัดขึ้น

ภาพกิจกรรม





วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชื่อผลงานวิจัย งานวิจัย

ผลของการสอนด้วยสื่อต่างชนิดที่มีต่อความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ที่มีเพศต่างกัน
หัวข้อ(Eng) The Effect of Different Types of Instruction Media of Mathematics Readiness of Early Children Used Thai as Second Language under the Authority of Primary Education Office Yaring District, Pattanee Province with Different Six
คำสำคัญ(keyword) การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ
ความพร้อมทางคณิตศาสตร์
การสอนด้วยสื่อที่เป็นของจำลอง
การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง
ภาพ
ของจำลอง
เด็กปฐมวัย
ปี2545
ชื่อผู้วิจัย นางสาวกวิสรา บิลหมัด
ชื่อผู้วิจัย(Eng) Miss Kawissara Bilmad
ตำแหน่ง อาจารย์ ระดับ 1
การศึกษา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สถานที่ติดต่อ (ที่ทำงาน) โรงเรียนบ้านจะรัง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี 94150

(ที่บ้าน) 5 หมู่ 5 ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร (09) 595-7349
ช่วงระยะเวลาที่ทำวิจัย(duration) ทำวิจัยเสร็จปี 2545
ประเภท งานวิจัยส่วนบุคคล ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยประเภททั่วไปจาก คณะกรรมการวิจัยการศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรม ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2544
สถานที่จัดเก็บผลงาน ห้องสมุด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ถนนสุโขทัย เขตดุสิต ก.ท.ม. 10300
ประวัติความเป็นมา(history) ปัญหาของการวิจัยครั้งนี้ เกี่ยวกับการต้องการทราบผลการสอนด้วยสื่อต่างชนิด คือ การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ การสอนด้วยสื่อที่เป็นของจำลอง การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง ว่าจะทำให้เด็กปฐมวัยที่มีเพศต่างกันมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันหรือไม่


ในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กให้เกิดความพร้อมทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม โดยจัดประสบการณ์ที่จะช่วยให้เด็กดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และเตรียมให้เด็กมีพื้นฐานระดับประถมศึกษาต่อไป ซึ่งครูจะใช้กิจกรรม สื่อการสอน เกมการศึกษาต่างๆ เป็นเครื่องมือในการปูพื้นฐานเนื้อหาวิชาตามแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อทำให้เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์ตรง (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2528 : 1) ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาจึงเป็นแบบผสมผสานกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะความพร้อมมิได้มุ่งอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นหรือเรียนรู้เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ดังเช่นในระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา ดังนั้นการวัดและประเมินผลมิได้ประเมินความรู้ความจำความเข้าใจจากเนื้อหาหรือหน่วยการเรียน แต่จะวัดผลจากพัฒนาการและความพร้อมของเด็กเป็นหลัก (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2528 : 2) จาดจุดมุ่งหมายดังกล่าว เด็กปฐมวัยจะต้องได้รับการเตรียมความพร้อมหรือเสริมสร้างทักษะพื้นฐานที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับระดับประถมศึกษาต่อไป ทักษะพื้นฐานที่สำคัญที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการเตรียมความพร้อมคือ ทักษะทางคณิตศาสตร์ เพราะเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น และช่วยพัฒนาความสามารถทางสติปัญญาขึ้นไปด้วย ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


ประโยชน์และความสำคัญของสื่อการสอน ในการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ กิจกรรมและสื่อการสอนควรเป็นรูปธรรม เป็นของจริงและสัมพันธ์กับชีวิตเด็กปฐมวัย การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นในขณะที่เด็กหยิบจับ สัมผัส ทดลองกับสิ่งของและมีสัมพันธ์กับบุคคลอื่นตลอดช่วงชีวิตเด็กปฐมวัยมโนทัศน์จะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นทีละน้อย ให้เด็กสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือข้อมูลที่เป็นสัญลักษณ์ เช่น ตัวอักษร ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็ก (หรรษา นิลวิเชียร, 2535 : 47)


แนวคิดพื้นฐานอีกประการหนึ่งในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้น คือ เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ความสนใจ เพศ เป็นต้น ความแตกต่างของเพศจะเป็นตัวแปรที่ทำให้ความสามารถของบุคคลแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้จะเป็นตัวแปรในการเลือกวิธีสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งจะช่วยต่อการเรียนรู้ของเด็กได้มาก และช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความพร้อมตามศักยภาพของตน


ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำการสอนด้วยสื่อต่างชนิด ได้แก่ สื่อการสอนที่เป็นภาพ สื่อการสอนที่เป็นของจำลอง สื่อการสอนที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง มาเป็นตัวแปรอิสระ เพื่อศึกษาร่วมกับตัวแปรเพศ เพื่อดูว่าตัวแปรนี้จะส่งผลต่อกันหรือไม่ และมีผลต่อความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
แนวคิด(concept) 1. ความพร้อมทางคณิตศาสตร์

2. ภาพและของจำลอง

3. เพศ
วัตถุประสงค์(objective) 1. เพื่อศึกษากิริยาร่วมระหว่างการสอนด้วยสื่อต่างชนิดกับเพศของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็น ภาพ สื่อที่เป็นของจำลอง สื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง
3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เป็นเพศชายและเพศหญิงที่ ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ สื่อที่เป็นของจำลอง สื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง
สมมุติฐาน(assumption) 1. ถ้าเด็กปฐมวัยที่เป็นเพศชายและเพศหญิงที่ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ สื่อที่เป็นของจำลอง สื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลองแล้วเด็กปฐมวัยจะมีคะแนนจากการทำแบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันไปตามความแตกต่างของเพศ หรือมีกิริยาร่วมระหว่างการสอนด้วยสื่อต่างชนิดกับเพศ
2. ถ้าเด็กได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ สื่อที่เป็นของจำลอง สื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลองแล้วเด็กปฐมวัย จะได้รับคะแนนจากการทำแบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน
3. ถ้าเด็กปฐมวัยที่เป็นเพศชายและเพศหญิงที่ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ สื่อการสอนที่เป็นของจำลอง และสื่อการสอนที่เป็นภาพร่วมกับของจำลองแล้วเด็กปฐมวัยจะได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน
แนวทางการปฏิบัติ(regulation) การวิจัยกึ่งทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง(sample) ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2543 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 614 คน จาก 15 โรงเรียน

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2543 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 120 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)
ตัวแปร(variable) ตัวแปรอิสระ คือ เพศ และการสอนด้วยสื่อต่างชนิดกัน
ตัวแปรตาม คือ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
คำนิยาม(defination) การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้กระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยสื่อที่เป็นภาพ ตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

การสอนด้วยสื่อที่เป็นของจำลอง หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้กระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยสื่อที่เป็นของจำลอง ตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้กระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยสื่อที่เป็นภาพและของจำลอง ตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ภาพ หมายถึง ภาพผลไม้ที่เป็นภาพถ่าย ภาพสี และภาพวาดเหมือนจริงลายเส้น ขาว-ดำ ที่มีลักษณะเป็น 2 มิติ

ของจำลอง หมายถึง ผลไม้จำลองที่ทำมาจากพลาสติกและปูนปาสเตอร์ที่มีลักษณะสี รูปร่าง พื้นผิวเลียนแบบของจริงและขนาดเท่าของจริง

ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบขนาด สัดส่วน การจำแนกรูปร่าง การจัดหมวดหมู่ ความสามารถในการสังเกตความเหมือน-ความแตกต่าง การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของ จรัสศรี คำใส (2537)

เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เครื่องมือ(tool) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 ประเภท คือ
1. แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ คือแบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์
2. แผนการสอน มี 3 ฉบับ คือ แผนการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ จำนวน 5 แผนการสอน แผน การสอนด้วยสื่อที่เป็นของจำลอง จำนวน 5 แผนการสอน และแผนการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง จำนวน 5 แผนการสอน
การรวบรวมข้อมูล(gathering) 1. ผู้วิจัยเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง และตารางนัดหมายครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 2 เกี่ยวกับวันเวลาที่จะทดลอง
2. ผู้วิจัยทำการทดลอง ดังนี้
กลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 เด็กปฐมวัยเพศชายและเพศหญิง ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ
กลุ่มทดลองที่ 3 และ 4 เด็กปฐมวัยเพศชายและเพศหญิง ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นของจำลอง vกลุ่มทดลองที่ 5 และ 6 เด็กปฐมวัยเพศชายและเพศหญิง ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง
3. หลังการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กปฐมวัย โดยมีครูประจำชั้นเป็นผู้ช่วย ทดสอบวันละ 1 โรงเรียน
การวิเคราะห์(analysis) 1. หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์
2. ทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน
3. เปรียบเทียบพหุคูณตามแบบทูคีย์
ข้อสรุป(summary) 1. ไม่มีกิริยาร่วมระหว่างเพศ กับ การสอนด้วยสื่อต่างชนิด
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ สื่อที่เป็นของจำลอง และสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของ จำลองมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน โดยเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลองมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพและเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนด้วยสื่อที่เป็นของจำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เด็กปฐมวัย เพศชาย มีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่า เด็กปฐมวัยเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ(suggestion) ข้อเสนอแนะทั่วไป
เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ การสอนด้วยสื่อที่เป็นของจำลอง การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลอง มีผลต่อความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อหา และความแตกต่างของเด็ก

ข้อเสนอแนะสำหรับทำวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยการใช้สื่ออย่างอื่น หรือใช้กิจกรรมเป็นสื่อการสอน เช่น การเล่นการศึกษา การเล่นมุมช่างไม้ มุมบล็อก เพื่อหากิจกรรมหรือสื่อที่ดีกว่า
ปี 2545


วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เนื้อหาที่เรียน
กรอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์มี 6 สาระ
สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  
                           - เข้าใจถึงความหลากหลายและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน         

สาระที่ 2  การวัด
                           - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา

สาระที่ 3 เรขาคณิต
                            - รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
                           - รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 พีชคณิต
               - เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
               - รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมาสอนตามแผน
กลุ่มที่ออกมาสอน มีดังนี้
1. หน่วยไข่กับการทำอาหาร
                                                                                             2. หน่วยไข่จ๋า

















3. หน่วยน้ำ
และอาจารย์ได้บอกว่า การสอบปลายภาคให้สอบนอกตารางแต่เอาวัน-เวลาเหมือนในตาราง  แล้วให้มาเจอกันที่ตึกคณะ

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เนื้อหาการเรียน

-อาจารย์สอนการบรูณาการคณิตศาสตร์เข้ากับกิจกรรมประจำวัน

บูรณาการคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

-การเข้าแถว ศิลปะ กิจกรรมกลางแจ้ง เกมการศึกษา

- ใช้การเล่านิทาน ร้องเพลง
 
- อาจารย์ให้นำแผนมานำเสนอโดยการสอนให้เพื่อนๆดู

กลุ่มที่1 นำเสนอการแผนสอน หน่วยครอบครัว


กลุ่มที่ 2 แผนการสอนหน่วย ผลไม้ กลุ่มดิฉันเอง
สมาชิก  นางสาว อนุสรา ธูสรานนท์ เลขที่ 1
             นางสาว โยธิตรา หอมลา เลขที่  3
             นางสาว เนตรนภา วิรุณพันธุ์  เลขที่ 6

ภาพการนำเสนองานของกลุ่มดิฉัน




วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาการเรียน
 
    อาจารย์ขอดูแผนที่นักศึกษาเขียนมาพร้อมกับเสนอแนะและสอนเป็นตัวอย่างให้ดูก่อน
    อาจารย์สาธิตวิธีการสอนเด็กอย่างง่ายๆ โดยการทำตารางสัมพันธ์สองแกน
    การเปรียบเทียบความเหมือนต่าง
ส่งงานเขียนแผนให้อาจารย์ดู นำเสนอครั้งสัปดาห์หน้า
 

แผนประจำวันอังคาร เขียนโดย น.ส โยธิตรา หอมลา


งานที่อาจารย์มอบหมาย
   
-ให้นักศึกษาไปทำ Mind map มาตรฐานคณิตศาสตร์ลงใน blogger ของตนเอง




 
          เนื้อหาสาระที่เรียน

การระดมความคิดในห้องเรียน

- นิทานเวที
- นิทรรศการสื่อ
- เล่นดนตรี
- ร้องเพลง
- เล่านิทาน
- เล่นเกม
- รำ
- งานศิลปะ
- เต้น

1.การสอนเด็กต้องสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก / เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก
2.ประสบการณ์  คือ ต้องลงมือกระทำ เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้
3. การนับหรือการเรียง  ต้องเรียงจากซ้ายไปขวา เพื่อที่จะให้เด็กมีประสบการณ์เป็นพื้นฐานในการจำ
4.การวางตัวเลขจะวางไว้หน้าคำหรือหลังคำก็ได้แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกัลคำนั้นๆ
5.ดูตามภาพ
6.การแยก     เป็นพื้นฐานของการลบ
7.การรวม     เป็นพื้นฐานของการบวก
8.ภาษา/คณิตศาสตร์    เป็นเครื่องมือที่พัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์
9.ถ้าเด็กยังไม่มีการลงมือกระทำ  แสดงว่า จะเป็นแค่เพียงการรับรู้เท่านั้น


       ร้องเพลง
      เล่านิทาน     =    3  อย่านี้สามารถใช้ร่วมกันในการเล่านิทานได้
      เต้น
โอกาสที่เด็กจะทำได้มีสูง  เพราะเด็กสามารถทำเป็นประจำได้  และการลงมือกระทำมีสิทธิ์ที่จะประสบความสำเร็จดีมาก 
10.เครื่องมือที่การวัดที่เป็นทางการ  ไม่ควรนำม่ใช้กับเด็ก  เช่น  ไม้บรรทัด
11.ควรใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ  เช่น  คืบ  ฝ่ามือ     
12.สรุปจากตาราง
        - สาระที่ 2 การวัด  มาตรฐาน  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดและความยาว
        - สาระที่ 3 เลขาคณิต   มาตรฐาน  รู้จักตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปทรง 
        - สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น   มาตรฐาน  การนำเสนอข้อมูล / การรวบรวมข้อมูล
13.ดูภาพ



 

สิ่่งที่เด็กต้องรู้
  บางอย่างต่างกัน  บางอย่างเหมือนกัน เด็กจึงต้องลงมือกระทำ